Search for:
สัญญาณเตือน ปัญหาทางการเงิน

1.ไม่จัดบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ถ้าเราทำงานโดยไม่มีการจดบัญชีรายรับ-รายจ่าย หรือใช้วิธีการจำ อาจจะทำให้เราไม่สามารถรับรู้ว่าสถานะทางการเงินของเราตอนนี้มีเงินเหลือในการบริหารงานเท่าไหร่ ทำให้เกิดการบริหารทางการเงินที่ผิดพลาด อาจจะส่งผลต่องานได้

2.ไม่แยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีงาน

การแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีงานเป็นสิ่งที่สำคัญและสมควรทำ เพราะทำให้เราทราบถึงจำนวนเงินที่เรามีได้อย่างแท้จริง และป้องกันการนำเงินในส่วนของงานไปใช้ส่วนตัวที่อาจจะไม่เกี่ยวกับงานได้

3.ไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริงว่างานนั้นกำไร-ขาดทุนเท่าไหร่

เคยหรือไม่ที่งานจบเราไม่รู้ว่าสรุปแล้วงานที่เราทำนั้นมีกำไร หรือว่าขาดทุน เหตุผลจริงๆมาจากการไม่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อการดำเนินธุรกิจเพราะเราไม่ทราบผลประกอบการที่แท้จริงของงานที่เราทำไป

4.เริ่มนำเงินส่วนตัวมาใช้ในงาน

บางครั้งผู้รับเหมาอาจจะต้องนำเงินส่วนตัวมาสำรองเป็นเงินหมุนเวียนภายในงาน แต่งานจบอาจจะไม่เหลือเงินส่วนที่เราลงไป ถ้าต้องจ่ายเงินเองบ่อยๆ ถือเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาดส่งผลว่างานของเรากำลังขาดทุนอยู่

ทุกปัญหาทางการเงินปรึกษาเราได้นะคะ

✔️เรามีบริการสินเชื่อที่พร้อมตอบโจทย์ ✔️อนุมัติเร็วได้เงินจริง*ให้เราดูแลคุณนะคะ***********************สนใจปรึกษาฟรี โทรเลย 096-6363144 หรือ คลิกhttps://lin.ee/qycPONr

ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างเป็นงานซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานที่มากมายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิถีทางหนึ่งของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างซึ่งสามารถแบ่งความปลอดภัยในงานก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.ความปลอดภัยในสถานที่

สถานที่ก่อสร้าง หมายถึง อาณาบริเวณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมิใช่เฉพาะบริเวณที่กำลังดำเนินการก่อสร้างเท่านั้น แต่รวมไปถึงบริเวณที่จัดเก็บวัสดุ โกดังเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร และอื่นๆ เป็นต้น จึงควรมีข้อกำหนดละแนวปฏิบัติในสถานที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนงาน ดังนี้

– การทำรั้วกั้นโดยรอบบริเวณก่อสร้างทั้งหมด เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้างถ้าเป็นอาคารสูงอยู่ใกล้ชุมชน นอกจากการทำรั้วกั้นแล้วควรทำหลังคาคลุมทางเดินที่ติดรั้วกั้นนั้นด้วย เพื่อป้องกันเศษวัสดุตกใส่ผู้สัญจรไปมาภายนอก

– ในสถานที่ก่อสร้างต้องมีการแบ่งเขตก่อสร้างอย่างชัดเจนโดยแบ่งเขตที่พักอาศัยออกจากบริเวณก่อสร้างที่จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร ที่เก็บวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหรือยังไม่ใช้ออกเป็นระเบียบ

– ป้ายสัญลักษณ์ หรือป้ายเตือนภัยต่างๆ สถานที่ที่อันตรายทุกแห่งในเขตก่อสร้าง ต้องมีป้ายแสดงอันตรายหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าว ซึ่งป้ายสัญลักษณ์นี้ต้องมีขนาดพอเหมาะและเห็นได้ชัดเจน ภาพแสดงและตัวอักษรต้องเป็นสื่อสากลที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่าย

– รอบตัวอาคารมีแผ่นกั้นกันวัตถุตกลงมาและมีตาข่ายคลุมอีกชั้น

– อาคารขณะก่อสร้างในที่มีช่องเปิดหรือที่ไม่มีแผงกั้น ควรทำราวกั้น และมีตาข่ายเสริมเพื่อป้องกันการตก

2.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร

เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างมีจำนวนมากมายตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก เช่น ปั้นจั่น รถยก เคริ่องตอกเสาเข็ม จนถึงขนาดเล็ก เช่น เครื่องเจียร สว่านไฟฟ้า ค้อน เป็นต้น อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักร จึงมีมากตามจำนวนอุปกรณ์และจำนวนผู้ใช้ ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรใช้อย่างถูกต้อง ดังเช่น

– การใช้ต้องไม่ผิดวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เครื่องจักรนั้น เช่น มักพบว่ามีการใช้ปั้นจั่นไปใช้ในการดึงหรือลากของที่มีน้ำหนักมากๆ หรือการใช้ลิฟท์ส่งวัสดุในการขึ้นลงของคนงานซึ่งเป็นเรื่องไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามประเภทของงาน จะทำให้เกิดประสิทธิผล และไม่ประสบอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรนั้น

– เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า หรือน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อควรปฏิบัติเครื่องมือเครื่องจักรที่ต้องใช้ไฟฟ้านั้น ต้องมีการเดินสายไฟอย่างปลอดภัย มีฉนวนหุ้มโดยตลอด  และหากต้องทำงานใกล้กับบริเวณที่มีไฟฟ้าทราบทุกครั้ง เพื่อจัดการป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้น หรือบริเวณที่มีการเก็บเชื้อเพลิง ห้ามจุดไฟ หรือสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

– เครื่องมือเครื่องจักร ต้องมีการ์ด ระบบความปลอดภัย ห้ามถอดหรือปิดระบบความปลอดภัยดังกล่าวหากเครื่องมือเครื่องจักรใดยังไม่มี ควรจัดให้มีการ์ดและระบบความปลอดภัยอย่างเหมาะสมทันที

– ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือเครื่องจักรทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขก่อนหรือหลังการใช้ทุกครั้ง

3.ความปลอดภัยส่วนบุคคล

สาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุขึ้นในงานก่อสร้างนั้นมาจากผู้ปฏิบัติงาน การควบคุมและการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้น จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณทำการก่อสร้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่กำหนดขึ้น โดยเฉพาะแนวการปฏิบัติในงานก่อสร้างในเรื่องของ

– การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานหรือคนงานควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่ปล่อยชายเสื้อหรือแขนเสื้อหลุดลุ่ย การใส่ผ้าถุง (คนงานหญิง) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเกี่ยวสะดุด หรือการดึงเข้าไปในเครื่องจักรได้ รวมทั้งการไม่ใส่รองเท้าหรือใส่อย่างไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าแตะ เป็นต้น

– การละเลยหรือการไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมในงานก่อสร้าง ผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม เช่น หมวกนิรภัย ทุกคนควรจะสวมอยู่เป็นประจำ เข็มขัดนิรภัยเมื่อคนงานทำงานบนที่สูง สวมรองเท้ายางหุ้มแข็งและใส่ถุงมือยางในการผสมคอนกรีต เป็นต้น

– ห้ามดื่มสุรา หรือเสพเครื่องดองของมึนเมา ห้ามเล่นหรือหยอกล้อกันในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนควรได้รับการลงโทษ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างคาดไม่ถึง

– จัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงอันตราย วิธีการปฏิบัติอย่างปลอดภัย กฎระเบียบ ข้องบังคับและข้อปฏิบัติที่ควรทราบ และสิ่งสำคัญยิ่งคือการสร้างจิตสำนึก ความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในคนงานทุกคน ไม่ว่าจะปฏิบัติงานอะไรก็ตามความปลอดภัยในการทำงานต้องมาเป็นอันดับแรกเสมอ

– ตรวจสุขภาพคนงาน และตรวจประจำปีเพื่อทดสอบความพร้อมของร่างกายคนงานและเพื่อเป็นการสกัดกั้นโรคจากการทำงานซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูงต้องให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยว่าแข็งแรงสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง

– จัดให้มีหน่วยงานปฐมพยาบาล และหน่วยฉุกเฉินขึ้นภายในหน่วยก่อสร้าง เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ และเพื่อเป็นการระงับเหตุอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจทวีความรุนแรงไปยังบริเวณใกล้เคียงได้

ขอบคุณข้อมูลจาก กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสิการและคุ้มครองแรงงาน

ผู้รับเหมาควรรู้ ก่อนรับงาน

เคล็ดลับดีๆ by kmppartners

รวมข้อมูลต่างๆที่ผู้รับเหมาควรรู้ ก่อนการรับงาน

1.การรับงานที่ถนัด

การรับทำงานที่ถนัด คือ งานที่ทั้งผู้รับเหมาและลูกน้องถนัดมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ข้อดีของการรับงานที่ถนัด ทำให้งานที่ทำสำเร็จได้เร็วกว่า สามารถควบคุมต้นทุน ควบคุมเวลาในการดำเนินการได้ง่ายขึ้น

2.เลือกลูกค้า

ผู้รับเหมาควรเลือกลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือ ดูประวัติการจ้างว่าเคยมีการเบี้ยวเงินผู้รรับเหมาหรือไม่ หรือ ถ้าลูกค้าเป็นบริษัท ก็ทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คให้ดีก่อนการรับงาน

3.การเสนอราคา

การเสนอราคา ควรได้กำไร และไม่ควรขาดทุนถึงแม้การเสนอราคายิ่งต่ำยิ่งมีโอกาสได้งานแต่ต้องดูว่า ถ้าต่ำจนเกินไปอาจจะไม่คุ้มการลงแรงเพราะบางครั้งไม่ใช่แค่ค่าแรง แต่หน้างานต้องมีค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าโอทีคนงาน

4.การวางแผน

การทำงานรับเหมาก่อสร้างต้องมีการวางแผน เพื่อให้งานเสร็จตามกำหนด หลีกเลี่ยงการโดนปรับ ทั้งการวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย การวางแผนการทำงานในแต่ละวัน

5.เงินทุน

เงินทุนคือปัจจัยที่สำคัยมากในทุกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาควรมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 30% ของมูลค่างานเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องของหน้างาน เพราะในบางครั้งการเบิกเงินเป็นงวดอาจจะล่าช้าได้

พบกับเคล็ดลับดีๆจากเราได้ใหม่ในวันถัดไปนะคะ

เครดิตรูปภาพ Business photo created by pressfoto – www.freepik.com

การเตรียมตัวเข้าพบลูกค้า

วันนี้ เคล็ดลับดีๆ by kmppartners นำเทคนิคการเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้า เพื่อมัดใจลูกค้า และทำให้ผู้รับเหมามีโอกาสได้งานมากขึ้น มาฝากค่ะ

1.การทำความรู้จักลูกค้า

ลูกค้าของผู้รับเหมา คือ เจ้าของบ้าน หรือฝ่ายจัดซื้อ ผู้รับเหมาต้องทำความรู้จักก่อนเข้าพบหรือเสนอราคา

2.เตรียมเอกสาร

เอกสารที่ผู้รับเหมาต้องเตรียม เช่น ประวัติของผู้รับเหมา ผลงานของผู้รับเหมา แนะนำเป็นแบบรูปภาพเพื่อให้เจ้าของบ้านได้เห็นภาพมากขึ้น รวมทั้งใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง หรือค่าแรง

3.การใช้คำพูด

ผู้รับเหมาต้องมีทักษะ และรู้จักการใช้คำพูดเพื่อเป็นการโน้มน้วและดึงดูดให้เจ้าของบ้านสามารถตัดสินใจในการจ้างงานได้เร็วขึ้น หรืออาจจะการจัดโปรโมชั่นบางอย่างในเรื่องของราคาให้เจ้าของบ้าน ก็จะเป็นอีกวิธีที่สามารถทำให้มีโอกาสได้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ

เทคนิคง่ายๆ 3 ขั้นตอนที่นำเสนอวันนี้ผู้รับเหมาสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานให้กับผู้รับเหมาเอง พบกับเคล็ดลับดีๆจากเราได้ใหม่ในวันถัดไปนะคะ

เครดิตรูปภาพ Business photo created by freepik – www.freepik.com

งานก่อสร้างจะไม่จบ ถ้ามีแค่ผู้รับเหมา

บุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างได้แก่

1. สถาปนิก นี่เป็นบุคลากรกลุ่มแรกที่มีบทบาทในเรื่องของงานก่อสร้าง เนื่องจากพวกเขาเป็นฝ่ายออกแบบบ้านหรืออาคารให้ออกมาตามแบบที่เราต้องการ งานในส่วนนี้บางครั้งบางที เจ้าของบ้านคิดว่าเป็นของ ผู้รับเหมา เพราะเขาเป็นผู้เอาแบบมาเสนอ แต่จริงๆ แล้ว งานนี้เป็นของกลุ่มบุคลากรที่เรียกว่า สถาปนิก พวกเขาจะทำหน้าที่ออกแบบรูปร่างและผังของอาคาร ซึ่งหากต้องการได้บ้านหรืออาคารที่ตรงกับใจต้องคุยกับสถาปนิกเป็นหลัก

2. วิศวกร บุคลากรกลุ่มนี้ขาดแทบจะไม่ได้เลย วิศวกร นั้นในงานการก่อสร้างส่วนมากเป็น วิศวกรโยธา หรือ วิศวกรโครงสร้าง ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้ ทำหน้าที่ในการ ออกแบบเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทำงานประสานรับไม้ต่อจากสถาปนิก เมื่อได้รูปร่างหน้าตารูปแบบตามที่ต้องการจากสถาปนิก วิศวกรจะออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงปลอดภัยในการใช้งานอยู่อาศัย สำหรับงานขนาดใหญ่นอกจากวิศวกรโครงสร้าง ยังมีวิศวกรฝ่ายอื่นๆ มาร่วมด้วย เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสุขาภิบาล วิศวกรสิ่งแวดล้อม… แล้วแต่ความจำเป็นและขนาดของงาน

3. ผู้รับเหมา แน่นอนว่าขาดบุคลากรกลุ่มนี้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการในการก่อสร้าง จะเรียกว่าฝ่ายปฏิบัติและอำนวยการก็น่าจะได้ เพราะหน้าที่หลักของ ผู้รับเหมา ก็คือการประสานงาน และควบคุมงาม เพื่อให้งานในภาพรวมสำเร็จ ตามแบบและมาตรฐานของแบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ออกแบบ ผู้จำหน่ายวัสดุ ช่าง คนงานก่อสร้าง และผู้ตกแต่ง จนได้งานก่อสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ จนบางครั้งเจ้าของบ้านคิดว่าติดต่อแค่ ผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างเดียวก็เพียงพอ ซึ่งก็สามารถทำได้ แต่ย่อมจะดีกว่าหากเจ้าของบ้าน หรือ ผู้ว่าจ้าง ติดต่อกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย เพื่อที่จะได้งานก่อสร้างในแบบที่พึงพอใจมากที่สุด

4. มัณฑนากร บุคลากรกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในเรื่องการออกแบบงานตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามลงตัว เพราะการจะก่อสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัก ไม่เพียงแต่มีความมั่นคงแข็งแรง และมีรูปทรงที่สวยงามเท่านั้น ยังต้องมีการตกแต่งอย่างใส่ใจในรายละเอียดอีกด้วย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และลงตัวมากยิ่งขึ้น หากขาดส่วนนี้ไป ก็มักจะได้งานที่ดูทื่อๆ แม้จะใช้งานได้ แต่… ก็ไม่สวยจนน่าพอใจอย่างที่มันควรจะเป็น

เครดิตข้อความ houzzMate 

เทคนิคการหาลูกค้าสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง
เคล็ดลับดีๆ by Kmp partners

เริ่มจากลูกค้าเก่า หรือ คนรู้จัก

-ผู้รับเหมาต้องมาดูว่าตัวเองมีลูกค้าเก่าอยู่จำนวนเท่าไหร่ การทำผลงานออกมาดี จะช่วยให้เกิดการบอกต่อและเป็นการแนะนำผู้รับเหมาไปในตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากต่อตัวผู้รับเหมาเอง

-แต่ในกรณีที่ผู้รับเหมาเพิ่งเริ่มต้นงานก่อสร้าง อาจต้องพึ่งคนรู้จักให้ช่วยแนะนำ เช่น เพื่อน หรือญาติ

-แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำผลงานออกมาดีเป็นตัวช่วยที่สำคัญ เพราะผลงานจะเป็นตัวการันตีว่าเราเป็นผู้รับเหมาคุณภาพ และการจ้างงานจะตามมาจากผลงานของเรา

ใช้ Social Network

Social เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโฆษณา ซึ่งสามารถสร้างคอนเทนต์ของตัวเองได้แบบฟรีๆ และมีจำนวนคนเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก อาทิ Facebook IG line ผู้รับเหมาสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ในการลงรูป ลงข้อความผลงานของเราที่ผ่านมาเป็นตัวช่วยให้กับลูกค้าในการตัดสินใจจ้างงานได้เป็นอย่างดี

การโทรหาลูกค้า

การโทรหาลูกค้าเพื่อสอบถามความต้องการ ความพึงพอใจ ที่มีต่อผลงานจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความใส่ใจของผู้รับเหมา ถือว่าเป็นการรักษาฐานลูกค้าที่เรามี เวลาลูกค้ามีงานก็จะนึกถึงเราก่อน

เครดิตรูปภาพ Building photo created by freepik – www.freepik.com

“4 เคล็ดลับดีๆ สำหรับการเริ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง”

1. มีทีมงานที่ดี

สิ่งที่สำคัญของการทำงานรับเหมาก่อสร้าง คือการมีทีมงานที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน มีประสบการณ์ในสายงานก่อสร้าง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาหน้างานได้ รวมทั้งต้องมีปฏิสัมพันธ์การสื่อสารที่ดีเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานร่วมกัน

2.ระบบบริหาร

ระบบบริหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนการจัดการ การจัดทำเอกสาร รายรับรายจ่าย การจัดการต้นทุน หรือแม้แต่การทำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเพื่อลดความผิดพลาด และเพื่อความแม่นยำของเอกสารรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว

3.เครื่องจักร

เครื่องจักรเป็นสิ่งที่หน้างานต้องคำนึง ต้องมีการวางแผนในการใช้ ว่าจะเช่าหรือซื้อ ถึงจะคุ้มค่ากับการทำงานและก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่มากขึ้น เช่น รถตัก รถขุดดิน นอกจากการคำนึงเรื่องการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงในเรื่องของการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุของเครื่องจักร

4. มี Suppliers ที่ดี

การมี Suppliers ที่ดีนอกจากจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลา ในการเปรียบเทียบราคาสินค้า ผู้รับเหมาจะได้สินค้าในราคาที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุนได้ไปในตัว

เครดิตรูปภาพ Business photo created by freepik – www.freepik.com
ปัญหาในงานรับเหมาก่อสร้าง

1.ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาก่อสร้างเอง

  1. การประสานงานกันภายในไม่ดีพอ ซึ่งปัญหานี้จะเจอบ่อยมาก แต่มีผลกระทบพอสมควร
  2. เครื่องจักรมีปัญหา ทำให้งานล่าช้า
  3. วัสดุเสียหาย หรือไม่พอ เพราะบางครั้งสั่งมาเร็วเกินไป ทำให้กว่าจะถึงเวลาใช้งาน วัสดุก็เสื่อมสภาพ (บวกกับจัดเก็บวัสดุไม่ดี)
  4. มีปัญหาด้านการเงิน ทำให้หมุนเงินไม่ทัน เพราะบางครั้งการวางแผนทางการเงินไว้แล้วก็จริง แต่บางอย่างก็อาจจะไม่เป็นไปตามแผน
  5. การทำงานไม่สอดคล้องกัน หรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเช่น ฝ่ายที่ไปคุยกับเจ้าของโครงการ รับข้อมูลมาแล้ว ไม่บอกต่อกับผู้ปฏิบัติงาน

2.ปัญหาที่เกิดจากผู้ควบคุมงาน

เกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่น ความคิดเห็นทางเทคนิคไม่ตรงกัน  หรือบางครั้งอาจจะหวังผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป  ความไม่เข้าใจในงานที่ได้รับมอบหมาย หรือเข้าใจไม่ตรงกัน

3.ปัญหาที่เกิดจากการออกแบบ

ปัญหานี้จะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแบบบ่อย , ประสบการณ์ของผู้ออกแบบ ( ผู้ออกแบบที่ดี ควรจะมีประสบการณ์อยู่หน้างาน หรือควบคุมงานก่อสร้างมาบ้าง )  การเปลี่ยนเทคนิคงานก่อสร้าง เพื่อลดต้นทุน ฯลฯ ทั้งนี้ ถ้าผู้ออกแบบมีประสบการณ์สูง ความคิดพลาดจะน้อยลง ส่วนผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ก็ต้องใช้ทักษะ หรือประสบการณ์ด้วย ไม่ใช่ว่าแบบมาผิด หรือว่ามีความผิดปกติ ก็ต้องถามผู้ออกแบบให้ชัดเจนอีกทีนึง ไม่ใช่ทำไปโดยที่รู้อยู่แล้วว่าจะมีปัญหาได้

4.ปัญหาที่เกิดจากเจ้าของโครงการ

ปัญหาจะเกิดขึ้นไม่บ่อย ถ้ามีการสรุปรายละเอียดของงานมาอย่างดีแล้ว แต่ถ้าไม่ยอมสรุปรายละเอียด แต่ต้องการให้เสร็จไวที่สุด ทำให้ระหว่างทำ ก็ต้องทำไป แก้ไขแบบไปเรื่อยๆ  ทำให้ มีงานเพิ่ม/ลด ทุกสัปดาห์ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายควบคุมงบประมาณ ฝ่ายก่อสร้าง ต้องประสานงานกันถี่ขึ้นมากกว่าเดิม หรือบางอย่างก็เป็นเรื่อง การเบิกเงินที่ล่าช้า ทั้งๆที่งานเสร็จตามงวดงาน

5.ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากปัญหาภายนอก

ปัญหานี้ควบคุมได้ยากสุด เพราะเป็นปัจจัยภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติ ฝนตก น้ำท่วม พายุเข้า ฯลฯ  , เกิดภาวะเศรษฐกิจ , ปัญหาการเมืองในประเทศ , วันหยุดยาวต่างๆ ทั้งหมดล้วนทำให้ งานล่าช้าได้

เครดิตข้อมูลโดย boris construction